วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา



  โรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีรากฐานมาจาก โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาซึ่งกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ได้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2458 ณ คฤหาสน์ของสมเด็จเจ้าพระยา
มหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ได้แก่บริเวณที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนศึกษานารีปัจจุบันต่อมาได้มีการสร้างสะพาน
ปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) และตัดถนนผ่านกลางบริเวณโรงเรียน ทำให้บริเวณแคบลง กระทรวง
ธรรมการจึงได้มอบหมายให้พระยาวิเศษศุภวัตร (เทศสุนทร กาญจนศัพท์) อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ดำเนินการย้ายมาอยู่ ณ บริเวณปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2474 โดยสับเปลี่ยนที่ตั้งกับโรงเรียนศึกษานารี เพื่อให้เกิดความเหมาะสม
กับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น ต่อมาได้มีการเปิดหลักสูตรฝึกหัดครูประถม ฝึกหัดครูมัธยมขึ้นที่โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ในปี พ.ศ. 2484 และ 2497 ตามลำดับ โดยเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา”

    พ.ศ. 2501 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็น “วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” โดยมีโรงเรียนสาธิตในสังกัดสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาใช้ชื่อ “โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา” โดยใช้อาคารร่วมกัน ณ อาคารมัธยมสาธิตในปัจจุบันพ.ศ. 2530 คณะผู้บริหารของวิทยาลัยในขณะนั้นได้พิจารณา
แยกการบริหารโรงเรียนสาธิต ออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายประถมศึกษา เป็นโรงเรียนประถมสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ทำการสอน ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1-ป.6 โดยอาศัยตึกครุศาสตร์ ชั้น 2 (อาคาร 9) เป็นที่เรียน ส่วนฝ่ายมัธยม เป็นโรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้น ม.1-ม.6 โดยใช้อาคารเรียนเดิม

    พ.ศ. 2532 ได้ก่อตั้งชมรมผู้ปกครองนักเรียนประถมสาธิตฯ เพื่อช่วยสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน

    พ.ศ. 2535 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ รับพระราชทานรางวัลโรงเรียนดีเด่นขนาดเล็ก ประจำปีการศึกษา 2534

    พ.ศ. 2535 ได้มีประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ” วิทยาลัยครูทั่วประเทศจึงเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นสถาบันราชภัฏ
ดังนั้น โรงเรียนประถมสาธิตจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” ตามไปด้วย

    พ.ศ. 2544 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยคระผู้บริหารขณะนั้น ได้ดำเนินการขออนุมัติสร้างอาคารประถมสาธิตฯ ให้เป็นอาคาร 6 ชั้น ด้วยงบประมาณในการก่อสร้าง 28 ล้านบาท แล้วเสร็จตามสัญญา เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2545
1 เมษายน 2545 ได้ย้ายมาอยู่ ณ อาคาร 6 ชั้น (อาคารสันต์ ธรรมบำรุง) เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้น ป.1-ป.6 ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน และในปีการศึกษา 2547 โรงเรียนได้เพิ่มห้องเรียนชั้น ป.1 เป็น 2 ห้องเรียน
14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏทุกแห่งได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ
    พ.ศ. 2547 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 121 ตอน 23 ก ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ดังนั้น โรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต้องใช้คำว่า
“โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา”
 



มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

BANSOMDEJCHAOPRAYA RAJABHAT UNIVERSITY


วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

หลักการใช้ Present Simple Tense ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1

การใช้ Present Simple Tense มีวิธีใช้ดังนี้ คือ
                1. เมื่อเหตุการณ์ที่กล่าวถึงเป็นความจริง เช่น
                                The earth moves round the sun.
                        Tigers are dangerous animals.
                        John is the youngest son.
            2. ใช้กับเหตุการณ์ที่กระทำอยู่เป็นประจำ เป็นนิสัย ในกรณีนี้มักจะมีคำแสดงเวลาร่วมอยู่ด้วย คือ always, sometimes, generally, often, every day, every week, every month, etc. เช่น
                                My son sometimes plays tennis with his father.
                        He always gets up at eight o’clock.
                        The bus comes every ten minutes.
            ในประโยคปฏิเสธ (Negative Form)มีหลักการเปลี่ยนดังนี้ คือ
                1. ประโยค Present Simple Tense ที่มี Verb to be หรือ กริยาช่วยตัวอื่น (can, may, must, will, shall) สามารถเติม not หลังคำกริยาช่วยเหล่านั้นได้ทันที เช่น
                                She is a teacher.                   She is not a teacher.
                        I can play baseball.               I cannot play baseball./ I can’t play baseball.
            2. ในประโยค Present Simple Tense ที่ไม่มี Verb to be หรือกริยาช่วยดังกล่าวในข้อ 1 อยู่ในประโยคให้ปฏิบัติดังนี้คือ
                                2.1 ใช้ do not หรือ don’t (รูปย่อของ  do not) วางไว้หน้าคำกริยาแท้ ที่ไม่ได้เติม s, es เช่น
                                We walk to school every day.
            เป็น         We do not walk to school every day.
            หรือ       We don’t walk to school every day.
                        The children always make a loud noise.
            เป็น       The children do not always make a loud noise.
            หรือ       The children don’t always make a loud noise.
                        2.2 ใช้ does not หรือ doesn’t (รูปย่อของ does not) วางไว้หน้าคำกริยาแท้ที่เติม s, es โดยตัด sหรือ es ก่อน เช่น
                                The baby sleeps well every night.
            เป็น         The baby does not sleeps well every night.
            หรือ       The baby doesn’t sleeps well every night.
            ในกรณีที่คำกริยาแท้บางคำต้องมีการเปลี่ยนแปลงก่อนเติม s, es จะต้องตัด s, es ออก แล้วกลับมา ใช้ตัวเดิมก่อน เช่น
                        The baby cries every night.
            เป็น         The baby does not cry every night.
            หรือ       The baby doesn’t cry every night.
            (ในที่นี้จะต้องตัด ies ออกก่อนแล้วกลับมาเติม y เหมือนเดิม เมื่อใช้ does not เช่นเดียวกับคำกริยาตัวอื่นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกัน)
                ในประโยคคำถาม (Interrogative Form) มีหลักการเปลี่ยนดังนี้ คือ
                1. ประโยค Present Simple Tense ที่มี Verb to be หรือกริยาช่วยตัวอื่นๆ ให้นำเอาคำกริยาช่วยในประโยค มาวางไว้หน้าประธาน แล้วใส่เครื่องหมายคำถาม เช่น
                You are a nurse.                   Are you a nurse?
            They can speak English.                    Can they speak English?
            2. ในประโยค Present Simple Tense ที่ไม่มี Verb to be หรือคำกริยาช่วยดังกล่าวในข้อ 1 อยู่ในประโยคให้ปฏิบัติดังนี้
                                2.1 ใช้ do วางไว้หน้าประธาน (พหูพจน์) เมื่อคำกริยาแท้ในประโยคไม่ได้เติม s, es แล้วใส่เครื่องหมายคำถามท้ายประโยค
                                We have lunch at twelve.                  Do we have lunch at twelve?
                        Susan and I play tennis every day.                 Do Susan and I play tennis every day?
                        2.2 ใช้does วางไว้หน้าประธาน (เอกพจน์) เมื่อคำกริยาแท้ในประโยคเติม s, es โดยตัด s, es ออกเสียก่อน แล้วใส่เครื่องหมายคำถามท้ายประโยค
                                He often goes to the beach.               Does he often go to the beach?
            ในกรณีที่คำกริยาแท้บางตัวต้องมีการเปลี่ยนแปลงก่อนเติม s, es จะต้องตัด s และ es ออก แล้วกลับมาใช้รูปเดิมของคำกริยาเสียก่อนที่จะใช้ does วางไว้หน้าประธานของประโยค เช่น
                                Jennifer tries to climb the mountain. → Does Jennifer try to climb the mountain?
            หมายเหตุ ลักษณะของคำถามแบบนี้ จะต้องตอบด้วย Yes. หรือ No.

แบบฝึกหัด